หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
 
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
องค์การบริหารส่วนตำบล หนองหลวง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
หนองหลวง
นางอัญชลี เดชเจริญศิริกุล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
ศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของชาวหนองหลวง
วัดหนองหลวง
บ้านหนองหลวง
โรงเรียน
อบต.หนองหลวง
อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
1
2
3
 
 
 


อาการของโรคมือ ปาก เท้า
 
ประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมือ ปาก ในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด  

ลำดับภาพที่ 1/1
<<
>>
X
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

อาการของโรคมือเท้าปาก
• เด็กที่เป็นโรคมือ-เท้า-ปากมักเริ่มด้วยอาการไข้
• เจ็บปาก
• กินอะไรไม่ค่อยได้ น้ำลายไหล เพราะมีแผลในปากเหมือนแผลร้อนใน
• และมีผื่นเป็นจุดแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขาได้
• ผู้ป่วยมักมีอาการมากอยู่ 2-3 วัน จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก แต่บางรายมีอาการมากจนกินอาหารและน้ำไม่ได้
โดยปกติโรคนี้ไม่น่ากลัว และหายเองโดยไม่มีปัญหา แต่อาจมีโอกาสเล็กน้อยที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือพบปัญหาแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะถ้าเกิดจากเชื้ออีวี 71 จะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มากขึ้น ปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดคือ ก้านสมองอักเสบ ทำให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ซึ่งถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และบางครั้งเชื้ออีวี 71 อาจทำให้เกิดสมองอักเสบรุนแรงได้ โดยไม่ต้องมีผื่นแบบ มือ-เท้า-ปากได้ เด็กที่จะมีปัญหาแทรกซ้อนรุนแรงหรือสมองอักเสบ จะมีสัญญาณอันตรายได้แก่ ซึม อ่อนแรง ชักกระตุก มือสั่น เดินเซ หอบ อาเจียน ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน การระบาดของโรคมือ-เท้า-ปาก ในประเทศไทยในขณะนี้แม้ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดอาการไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ดีต้องระวังอาการรุนแรงไว้ด้วย แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยก็ตาม

ข้อสังเกตแรกเริ่มอาการของเด็กที่เป็น ‘โรคมือเท้าปาก’
• มีไข้เฉียบพลัน
• มีอาการปวดหัว , ปวดท้อง , เมื่อตามเนื้อตามตัว
• มีอาการเจ็บคอ , รู้สึกเบื่ออาหาร ซึ่งเด็กจะไม่ยอมทานอะไรเลยเนื่องจากเจ็บแผลที่อยู่ในปาก
• เด็กจะมีน้ำลายเหนียวและไหลยืดมากผิดปกติอยู่ตลอดเวลา
เมื่อผ่านไป 2 วัน ให้สังเกตอาการโรคมือเท้าปากของเด็กให้ดี เพราะในระยะนี้เพดานปากของเด็กจะเกิดเป็นแผล ทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ ร้องไห้ งอแงอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นประมาณ 2 วันก็จะมีตุ่มใสขึ้นตามมือ เท้า ลำตัว และก้นเด็ก ซึ่งในช่วงที่เด็กไม่สามารถทานอะไรได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยป้อนน้ำเด็กให้บ่อยที่สุด เนื่องจากเกรงว่าเด็กอาจจะมีอาการขาดน้ำจากการที่ไม่ยอมกินน้ำนั่นเอง

การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
ในการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากนั้น มักจะวินิจฉันได้จากลักษณะอาการของโรคที่แสดงออกมาและการตรวจผู้ป่วยดังต่อไปนี้
• ผู้ป่วยมีไข้สูง 38 - 39 องศาเซลเซียส
• พบจุดนูนแดง ตุ่มน้ำใส หรือแผลที่เยื่อบุปาก ลิ้น และเหงือก
• พบจุดแดงราบ ตุ่มนูน หรือตุ่มน้ำที่มือ เท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และแก้มก้น
• ในผู้ป่วยรายที่มีอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรง แพทย์อาจจะทำการตรวจเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่งที่บริเวณคอหอย อุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนังเพิ่มเติม เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อในกลุ่มนี้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากว่าการตรวจในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย อีกทั้งยังมีราคาแพง และในบางสถานการณ์ก็ไม่สามารถทำได้อันเป็นเหตุมาจากอุปสรรคทางเทคนิคต่างๆ อาทิ การตรวจหายีนของไวรัสด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) ที่จะใช้เวลาในการตรวจและรายงานผลที่ได้ประมาณ 1 - 3 วัน , การตรวจด้วยการเพาะเชื้อไวรัส (Virus culture) ใช้เวลาในการตรวจและรายงานผลที่ได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจที่จะให้ผลได้เร็วภายใน 1 - 2 ชั่วโมง
เพิ่มเติม สำหรับลักษณะของโรคมือเท้าปากจะมีอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ จึงอาจทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคอื่นไม่ใช่โรคมือเท้าปาก อาทิ โรคไข้รูมาติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นไข้ เกิดผื่นแดง , โรคเฮอร์แปงใจน่า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นตามผิวหนังและเป็นตุ่มน้ำในปาก , เริม , อีสุกอีใส , แผลร้อนใน หรือแผลพุพอง เป็นต้น

การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรง หรือทางอ้อม เช่น สัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคนี้จึงมักระบาดในโรงเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก

วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การป้องกันที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคมิให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น เด็กทุกคนรวมทั้งผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นทำความสะอาดของเล่น และสิ่งแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาชะล้างทำความสะอาดทั่วไป แล้วทำให้แห้ง ควรระมัดระวังในความสะอาดของน้ำ อาหาร และสิ่งของทุกๆ อย่างที่เด็กอาจเอาเข้าปาก ไม่ให้เด็กใช้ของเล่นที่อาจปนเปื้อนน้ำลาย หรืออุปกรณ์การรับประทานร่วมกัน ควรสอนให้เด็กๆ ใช้ช้อนกลาง และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  โรงเรียนไม่ควรรับเด็กป่วยเข้าเรียนจนกว่าจะหายดี ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ไม่ควรพาไปโรงเรียน หากพบว่าเป็นโรคนี้ควรให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ และ เมื่อหายป่วยแล้ว เด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีเชื้ออยู่ในอุจจาระได้ นานหลายสัปดาห์ ดังนั้นเมื่อเด็กหายป่วยแล้ว ยังต้องมีการระวังการปนเปื้อนของอุจจาระต่ออีกนาน ควรเน้นการล้างมือหลังเข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนรับประทานอาหารแก่เด็กและผู้ใหญ่ทุกคน ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เพราะแอลกอฮอลล์เจลจะฆ่าเชื้อเอนเตอโรไวรัสไม่ได้ ในช่วงที่มีการระบาด ไม่ควรนำเด็กไปในที่ที่มีเด็กอื่นอยู่รวมกันจำนวนมาก เพราะจะมีโอกาสรับเชื้อได้เนื่องจากมีเด็กที่เป็นโรคนี้และแพร่เชื้อได้โดยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก ที่อาจไปอยู่รวมกัน

 

ข่าว ณ. วันที่ 5 ก.ค. 2562 เวลา 10.56 น. โดย สำนักงานปลัด

ผู้เข้าชม 276 ท่าน

 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/1
<<
>>
X
 
 
สายตรงนายก
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร. 056-891-275
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ 60160 โทรศัพท์ : 056-891-275 โทรสาร : 056-891-275
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง
จำนวนผู้เข้าชม 23,619,904 เริ่มนับ 26 ม.ค. 2558 จัดทำโดย : NAXsolution.com
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10